วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2558

พระไตรปิฏกและพุทธศาสนสุภาษิต





พระไตรปิฎก : โครงสร้าง ชื่อคัมภีร์และสาระสังเขปของพระสุตตันตปิฎก 
ชื่อคัมภีร์และสาระสังเขปของพระสุตตันปิฎก

          พระสูตร หรือที่เรียกในทางวิชาการว่า พระสุตตันปิฎก เป็น 1 ใน 3 ปิฎก มีลักษณะที่แตกต่างออกไปจากพระวินัยปิฎกและ
พระอภิธรรมปิฎก คือ เป็นการแสดงพระธรรมเทศนาที่มี บุคคล เหตุการณ์และสถานที่เข้ามาประกอบที่เรียกว่า บุคลาธิษฐาน โดยที่พระพุทธเจ้าทรงปรารภบุคคลเป็นต้น แล้วทรงถือโอกาสแสดงธรรมเทศนา ที่มีลักษณะเป็น ธรรมาธิษฐานบ้าง แต่ก็มีเป็นส่วนน้อย 
พระธรรมเทศนาในพระสูตรมีเป็นจำนวนมาก หลายหมวด หลายประเภท

         ในพระสูตรนี้ มิใช่ว่าจะมีแต่พระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าเท่านั้นยังมีธรรมภาษิตของเทวดาผู้มาเฝ้าและสนทนาธรรมกับพระพุทธเจ้าก็มีมีธรรมภาษิตของพระอรหันตสาวกและของพระอรหันตสาวิการวมอยู่ด้วย ฉะนั้น พระสูตรจึงประกอบด้วยอรรถรสและธรรมรสหลากหลาย ซึ่งเป็นมรดกทางปัญญาตกทอดมาแต่บรรพบุรุษผู้ซึ่งได้ศึกษาค้นคว้าและยึดถือเป็นหลักปฎิบัติในการดำรงชีวิตย่อมก่อให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุขแก่ตนและแก่สังคมอย่างแท้จริง  อ่านเพิ่มเติม

หน้าที่และมารยาทชาวพุทธ



1. หน้าที่ชาวพุทธ
 ชาวพุทธ มีหน้าที่มากมายหลายประการที่จะต้องศึกษาเรียนรู้ ปฏิบัติ เพื่อที่จะรำลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ และเพื่อทำนุบำรุงอุปถัมภ์ สืบทอดพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองตลอดไป
           1.1 หน้าที่และบทบาทของพระภิกษุสามเณร
           พระนักเทศน์ ได้แก่ พระภิกษุที่ปฏิบัติหน้าที่สอนหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาแก่เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป โดยการแสดงธรรม (เทศน์) และจะต้องผ่านการฝึกอบรมเป็นพระนักเทศน์ตามหลักสูตรของมหาเถรสมาคมแต่งตั้ง มี 2 ประเภท คือ
 1. พระนักเทศน์แม่แบบ หมายถึง พระนักเทศน์ที่ผ่านการอบรมจากคณะกรรมการฝึกอบรมพระนักเทศน์ที่มหาเถรสมาคมแต่งตั้ง
เพื่อไปจัดอบรมพระนักเทศน์ประจำจังหวัด
 2. พระนักเทศน์ประจำจังหวัด หมายถึง พระนักเทศน์ที่ผ่านการอบรมปฏิบัติหน้าที่เทศน์ภายในจังหวัดที่สังกัดหรือสถานที่ที่ทายกอาราธนา
นอกจากนั้น พระภิกษุทั่วไปที่มีความรู้ความสามารถ ก็สามารถเป็นพระนักเทศน์ได้ โดยให้การสอนหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา และ
ต้องมีความรู้ทางด้านธรรมเป็นอย่างดียิ่ง  อ่านเพิ่มเติม



คาวมรู้ทั่วไปเกี่ยวกับศาสนา



ความรู้เกี่ยวกับศาสนา
   ศาสนาเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจและเป็นแนวทางให้มนุษย์สามารถปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง  แม้แต่ละศาสนาจะมีมูลเหตุการเกิดที่ต่างกัน   แต่ก็ล้วนมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์เหมือนกัน  ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับมนุษย์ที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับศาสนา  เพื่อจะได้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเองและสังคม
๑)  ความหมายของศาสนา
   "ศาสนา"  มาจากศัพท์เดิมในภาษาสันสกฤตว่า  "ศาสน์"  ตรงกับคำในภาษาบาลีว่า  "สาสน์"  แปลว่า  คำสั่งสอน  แยกเป็น คำสั่ง  อันหมายถึง  ข้อห้ามทำความชั่ว  ที่เรียกว่า ศีล หรือ วินัย และ คำสอน อันหมายถึง คำแนะนำให้ทำความดี ที่เรียกว่า ธรรม  เมื่อรวมคำสั่งและคำสอนเข้าด้วยกันจึงหมายถึง ศิลธรรม คือ มีทั้งข้อห้ามทำความชั่ว และคำแนะนำให้ทำความดี
๒)  องค์ประกอบของศาสนา
๑)  ศาสดา  หมายถึง  ผู้ก่อตั้งและประกาศศาสนาหรือความเชื่อของลัทธินั้น
๒)  คัมภีร์หรือหลักธรรมทางศาสนา  คือ  คำสอนซึ่งเป็นหลักความเชื่อเพื่อเป็นแนวทางให้ผู้นับถือได้ปฏิบัติตาม
๓)  ศาสนวัตถุ  เป็นสัญลักษณ์หรือวัตถุทางศาสนา
๔)  ผู้สืบทอดศาสนา  ทุกศาสนาจะมีผู้สืบทอดศาสนาในการสั่งสอนศาสนิกชน
๕)  พิธีกรรม  แต่ละศาสนาย่อมมีพิธีกรรม  ซึ่งเมื่อศาสนิกชนได้ปฏิบัติตาม   ย่อมจะได้รับความสุข

๖)  ศาสนสถาน  แต่ละศาสนาจะมีศาสนสถานเพื่อการประกอบพิธีกรรมหรือการเผยแผ่คำสอนทางศาสนา อ่านเพิ่มเติม

พุทธประวัติและชาดก





ชาติตระกูล  มีพระนามเดิมว่า สิทธัตถะเป็นราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ กับพระนางสิริมหามายา”  ประสูติ ที่สวนลุมพินีวัน ณ ใต้ต้นสาละ (ปัจจุบันคือ ต.รุมมินเด ประเทศเนปาล) พราหมณ์ทั้ง 8 ได้ทำนายว่า เจ้าชายมีลักษณะเป็นมหาบุรุษ คือ ถ้าดำรงตนในฆราวาสจะได้เป็นจักรพรรดิ ถ้าออกบวชจะได้เป็นศาสดาเอกของโลก แต่ โกณฑัญญะพราหมณ์ผู้อายุน้อยที่สุดในจำนวนนั้น ยืนยันว่า จะได้ออกบวชและตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน

              หลังประสูติได้ 7 วัน พระมารดาสิ้นพระชนม์ จึงอยู่ในความดูแลของพระนางปชาบดีโคตมี ทรงเล่าเรียนจบระดับสูงของการศึกษาทางโลก คือ ศิลปศาสตร์ถึง 18 ศาสตร์ ในสำนักครูวิศวามิตร  พระบิดาไม่ประสงค์ให้เป็นศาสดา จึงพยายามให้พบแต่ความสุขทางโลก เช่น สร้างปราสาท 3 ฤดู และเมื่ออายุ 16 ปี ได้ให้อภิเษกกับนางพิมพาหรือยโสธรา เมื่อมีพระชนมายุ 29 ปี พระนางพิมพาก็ให้ประสูติ ราหุล (บ่วง) อ่านเพิ่มเติม